การพัฒนาวิชาชีพครู

สอนประวัติศาสตร์กรีกโบราณแบบบูรณาการ

กลุ่มสาระ :
บูรณาการ
หมวด :
เทคนิคการสอน
รายละเอียด :

รายการนี้ นักเรียนชั้น ป. 4 โรงเรียนประถมเซนต์ลอว์เรนซ์ เมืองเฟลแทม รู้สึกสนุกกับไป เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์อังกฤษเพื่อเชื่อมโยงมาสู่จุดเริ่มต้นของการสอนเรื่องกรีกโบราณ ครูเบอร์นาเดตต์ โซโลมอน เชื่อว่าหัวข้อนี้เป็นการใช้หลักการบูรณาการ และการไปเยี่ยมชมก็ให้แรงบันดาลใจ ต่อกิจกรรมในห้องเรียนอย่างกว้างขวาง ริชาร์ด วอฟฟ์ หัวหน้าฝ่ายการศึกษาโรงเรียนและเยาวชน ดำเนินการเวิร์กชอบในเชิงภาพที่พบในงานศิลปะกรีก และมันเล่าเรื่องราวอันซับซ้อนผ่านทางภาพ ๆ เดียวอย่างไร ในห้องเรียน เด็ก ๆ พิจารณางานศิลปะสมัยใหม่และเบอร์นาเด็ตใช้ แบบฝึกหัด การทำสตอรี่บอร์ดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน นักเรียนพบข้อมูลมากขึ้นในเว็บไซต์ และความสนใจของพวกเขาเกี่ยวกับการแข่งโอลิมปิกที่ลอนดอนช่วยเสริมความคิดเรื่องความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลง และอิทธิพลทางวัฒนธรรม สำหรับริชาร์ด กรีกโบราณมีเสน่ห์ดึงดูดนักเรียน และเชื่อมโยงกับเรื่องหน้าที่พลเมือง การอ่านออกเขียนคล่อง และศิลปะได้อย่างเป็นธรรมชาติ สำหรับเบอร์นาเด็ต การใช้พิพิธภัณฑ์เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เห็นมิติใหม่ของวิธีการสอน

คำสำคัญ : ทัศนศึกษา ทักษะการค้นคว้าข้อมูล การสอนนอกห้องเรียน 5STEPS การเรียนรู้อยางมีความหมาย การคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล ทักษะการสังเกต ศิลปะ ประวัติศาสตร์ อารยธรรมโบราณ ความรู้รอบตัว สถาปัตยกรรม การเปรียบเทียบ วรรณกรรม วัฒนธรรม เทพปกรณัมป์ เทพนิยายกรีก ประวัติศาสตร์ศิลปะ หลักฐานทางโบราณคดี การแนะแนวการศึกษา การทำงานกลุ่ม หัตถกรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม วิถีชีวิต การเชื่อมโยง บูรณาการ 5STEPS ความร่วมมือระหว่างครูและผู้เชี่ยวชาญ บทบาทของภัณฑารักษ์ โอลิมปิกส์ ความร่วมมือระหว่างครูและวิชาชีพต่าง ๆ การปกครอง หน้าที่พลเมือง สิทธิเสรีภาพ บทบาทสมมติ การเลือกตั้ง สิทธิสตรี การลำดับเรื่องราว ปรัชญา จริยศาสตร์ ความรับผิดชอบต่อสังคม

พื้นที่สำหรับแบ่งปันและเรียนรู้ (Share and Learn) 
เข้าสู่ระบบ
ได้รับความรู้ดีมาก - วราภรณ์
Untitled Document
ห้องเรียน DLIT คลังสื่อการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ คลังข้อสอบ ห้องสมุดดิจิทัล
  About Us   DLReport2017   DLThailand    
 
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สงวนลิขสิทธิ์ © 2559