คลังสื่อการสอน
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502
ชั้น : ม.1 ,ม.2 ,ม.3 ,ม.4 ,ม.5 ,ม.6
กลุ่มสาระ : สังคมศึกษาฯ
มาตรฐาน : ส 2.2 ,ส 4.2
รายละเอียด :

ผลิตโดย Thai PBS
มารู้จักกับรัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2502
หลังยึดอำนาจ จอมพลสฤษดิ์ ยังคงใช้ระบบรัฐสภามาระยะหนึ่ง มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น และพลโท ถนอม กิติขจร ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในสภาก็ยังวุ่นวาย เพราะบรรดา ส.ส. ก็เรียกร้องแต่ผลประโยชน์ สุดท้ายจึงเกิดการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 7 เรียกได้ว่า เป็นการยึดอำนาจตัวเอง
หลังยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญนั้นถูกยกเลิก ประเทศไทยจึงไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นเวลานานถึง 101 วัน จนในที่สุด จอมพลสฤษดิ์ ได้ประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2502” ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับที่ 7 ที่นักประวัติศาสตร์ทางการเมืองถือว่าเป็น “เผด็จการ” เต็มรูปแบบ  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้
• ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง
• ไม่มีกลไกควบคุมรัฐบาล
• นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเบ็ดเสร็จ สามารถสั่งการ หรือทำอะไรก็ได้ โดยถือว่าทุกคำสั่ง ถูกกฏหมาย เช่น สามารถสั่งประหารชีวิต หรือสั่งยึดทรัพย์ใครก็ได้

ในช่วงเวลานี้ ได้มีการจัดตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาเป็นคณะที่ 2 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย  อย่างไรก็ตาม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 240 คน ล้วนเป็นทหาร และข้าราชการทั้งนั้น
สุดท้ายเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้วเสร็จและประกาศบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511  จึงถือเป็นวันสิ้นสุดการใช้ “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2502” ที่บังคับใช้ ยาวนานถึง 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

พื้นที่สำหรับแสดงความคิดเห็น 
Untitled Document
ห้องเรียน DLIT คลังสื่อการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ คลังข้อสอบ ห้องสมุดดิจิทัล
  About Us   DLReport2017   DLThailand    
 
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สงวนลิขสิทธิ์ © 2559